คปภ.ไม่หวั่น

 
ส่อเค้าสู้กันยาวกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด และบริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ดคปภ.) ชงเรื่องไปเมื่อบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัย โดย พ.ต.ท.พงษ์ชัย วราชิต ประธาน กรรมการหอบหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบโดยกฎหมาย
อำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วย เลขาธิการสายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบตรวจสอบ สำนักงานคปภ. กล่าว ว่า คปภ.ไม่หวั่นการฟ้องกลับของบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัยเพราะมั่นใจว่ามีหลักฐานครบถ้วนในการสั่งปิดบริษัทโดยชอบธรรม อย่างในประเด็น เงินกองทุนที่ลิเบอร์ตี้ประกันภัยอ้างว่าไม่ได้ขาดเงินกองทุนนั้นยอมรับว่าไม่ขาดจริง เนื่องจากในปี 2552 บริษัทได้มีการประเมินราคาสินทรัพย์กับราคาตลาดทำ ให้ไม่ขาดเงินกองทุน 
 
ขาดสภาพคล่องทำลูกค้าเดือดร้อนอนุมัติขายทรัพย์สินไม่ได้ผิดก.ม.
แต่ในแง่ของสภาพคล่อง บริษัทขาดสภาพคล่องมาโดยตลอด เป็นผลทำให้ คปภ. ต้องมีคำสั่งให้หยุดรับประกันชั่วคราวในปี 2553 โดยระหว่างนั้นก็ได้ให้ บริษัทนำเงินเข้ามาแก้ไขสภาพคล่อง ซึ่งก็อ้างว่าจะชำระครั้งแรกในเดือนเมษายน 2553 จากนั้นก็ขอเลื่อนไปเป็นกันยายนก็ยังไม่มีการเติมเงินเข้ามาเรื่อยไปจนกระทั่ง ธันวาคมและจนถึงต้นปี 2554 ก็ยังไม่มีเงินเข้ามา ซึ่งการขาดสภาพคล่องสร้างความเดือดร้อนให้กับลูกค้าผู้เอาประกันมากจึงเสนอให้มีคำสั่งปิดในที่สุด 
ส่วนกรณีที่อ้างว่าเป็นเพราะคปภ. ไม่อนุญาตให้ขายอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 600 ล้านบาทเพื่อมาแก้ไขสภาพคล่อง นั้น อำนาจ กล่าวว่า ที่คปภ.ไม่สามารถ อนุญาตให้ได้เป็นเพราะตามกฎหมายมาตรา 52 เมื่อถูกคำสั่งหยุดรับประกันชั่วคราวแล้วบริษัทจะไม่สามารถดำเนินการจำหน่ายถ่ายโอนทรัพย์สินใดๆ ได้ ทำ ได้เพียงรับจ่ายสินไหมเท่านั้นจึงไม่สามารถ จะอนุญาตให้ขายทรัพย์สินใดๆ ได้เพราะฝ่าฝืนกฎหมาย
 
ค้างสินไหม 230 ล้านบาทลูกค้าได้หนี้ครบเพราะหนี้หลักแสน
ปลายปีที่ผ่านมา คปภ.ได้รวบรวมสินไหมทดแทนที่ยังค้างจ่ายพบว่ามีมูลค่าประมาณ 230 ล้านบาทตามที่แจ้งในเหตุของการสั่งปิด แต่ที่สารวัตรพงษ์ชัยบอกว่ามีเพียง 60 ล้านบาท นั้นเข้าใจว่าเป็นสินไหมที่ได้มีการเจรจาตกลงกับผู้เอาประกันที่ขอจ่ายเพียงบางส่วนจึงเป็นจำนวนเท่านั้น ซึ่งการที่ผู้บริหารจะฟ้องศาลปกครองว่าคำสั่งปิดกิจการไม่ชอบด้วย กฎหมายนั้นทำได้เพราะในท้ายคำสั่งก็ได้ระบุไว้ว่าสามารถทำได้ภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับคำสั่ง 7 มิถุนายน 2554 ส่วนกระบวนการชำระหนี้นั้น อำนาจ กล่าวว่า เมื่อผู้ชำระบัญชีเข้า ไปตรวจสอบหนี้สินและทรัพย์สินหากพบว่าทรัพย์สินมีมากกว่าก็จะแบ่งทรัพย์สินให้กับลูกค้าหนี้แต่ละรายหากเหลือก็จะคืนผู้ถือหุ้น แต่หากหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินก็จะมีคำสั่งล้มละลายนำทรัพย์สินมาจำหน่ายนำเงินมาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ในจำนวนที่เท่ากัน ถ้ายังไม่ครบก็สามารถขอ เบิกจ่ายจากกองทุนประกันวินาศภัยซึ่งจะได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่ง กรณีลิเบอร์ตี้ประกันภัยส่วนใหญ่เป็นลูกค้า รายย่อย หนี้สินไม่มาก สูงสุดก็น่าจะหลักแสนบาทจึงน่าจะได้รับชำระหนี้ครบทุกราย ไม่มีปัญหา 
อีกทั้งทางกรมบังคับคดี ก็ยังมีเกณฑ์ใหม่ให้กับบริษัทประกันที่ถูกปิดกิจการ จากเดิมกรมบังคับคดีจะเริ่มดำเนินการหลังจากขั้นตอนของการชำระบัญชีแล้ว ซึ่งกินเวลานานประมาณ 8 ปีผู้เอาประกันถึงจะได้รับการชดใช้หมด แต่ ของใหม่ทางกรมบังคับคดีจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับการชำระบัญชี ซึ่งจะทำให้ลูกค้าผู้เอาประกันได้รับการชำระหนี้เร็วขึ้น 3 ปีก็น่าจะจบ
ถามว่าจะมีบริษัทถูกปิดกิจการอีกหรือไม่ อำนาจ กล่าวว่า ตอบยาก แต่ส่วนใหญ่บริษัทที่มีปัญหามักเป็นบริษัทขนาดเล็กและกลาง ส่วนบริษัทขนาดใหญ่โอกาสเกิดน้อยกว่า ส่วนกรณีบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย นั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิทักษ์ทรัพย์ ขณะที่บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ที่ถูกควบคุมกิจการอยู่มีนักลงทุน สนใจเข้ามาดูอยู่ สัญญาณยังดี เนื่อง จากฟินันซ่าประกันชีวิตเป็นบริษัทใหญ่ การจะให้นักลงทุนเติมเงินเข้ามา 1,000 ล้านบาทไม่ใช่เรื่องง่ายต้องให้เวลาการ ตรวจสอบและการตัดสินใจ
 
วินาศภัยยันไม่กระทบความเชื่อมั่นย้ำกองทุนฯ เรียกศรัทธาได้เยอะ
ด้าน จีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยให้ความเห็นกับ สยามธุรกิจ ว่า การปิดบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด และบริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) ไม่น่ามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจประกันภัยภาพรวม เป็นเรื่องปกติ ของธุรกิจที่ต้องมีขึ้นมีลง ธุรกิจประกัน ภัยมีบริษัทประกันภัยจำนวนมากสามารถรองรับให้บริการประชาชนได้ 
อีกทั้งมีกองทุนประกันวินาศภัยหรือกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วมีเม็ดเงินหลายร้อยล้านบาทพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้เอา ประกันภัยอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงขั้น ตอนที่กองทุนจะนำเงินมาจ่ายให้กับประชาชนเท่านั้น การมีกองทุนตัวนี้ใน แง่ของภาคธุรกิจช่วยสร้างความเชื่อมั่น 
จีรพันธ์ กล่าวอีกว่า ทางเลขาธิการ คปภ. นางจันทรา บูรณฤกษ์ จะย้ำกับภาคธุรกิจและผู้บริหารทุกคนในทุกครั้งที่พบปะกันว่าประกันภัยเป็นธุรกิจที่ขายความเชื่อมั่นและความมั่น คง ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นด้วย การบริการที่ดี ความยุติธรรมรวมไปถึง การสร้างความมั่นคงให้กับผู้บริโภคจึงเป็นหัวใจหลักของธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันภัยจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการผลิต สินค้าให้ถูกใจผู้บริโภค
 
ที่มา:Siamturakij